ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอนุสัญญาฯ
โดยโครงสร้างทั่ว ๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ขอบข่ายของอนุสัญญา
(1) ขอบข่ายด้านบุคคล คือ อนุสัญญาทุกฉบับจะกำหนดไว้ว่าจะบังคับใช้กับผู้มีถิ่น
ที่อยู่ในรัฐคู่สัญญาเท่านั้น ผู้อื่นจะมาใช้ประโยชน์จากอนุสัญญาไม่ได้ สำหรับประเทศไทยกำหนด
ไว้ว่าผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ คือ บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 180 วัน ในปีภาษีหนึ่ง ๆ
(2) ขอบข่ายด้านภาษี คือ การครอบคลุมเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น นั่นคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นภาษีทางตรงและผลักภาระภาษีได้ยาก เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจะไม่อยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา
2. เงินได้ประเภทต่าง ๆ
อนุสัญญาจะไม่กำหนดว่ารายการประเภทใด เสียภาษีอัตราเท่าไหร่ แต่จะทำหน้าที่เพียงบอกว่าเงินได้ประเภทนี้รัฐแหล่งเงินได้หรือรัฐถิ่นที่อยู่จะได้รับสิทธิ ในการเก็บภาษีถ้ารัฐใดได้รับสิทธิในการเก็บภาษีผู้รับเงินได้จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายของรัฐนั้น รัฐที่ได้สิทธิในการจัดเก็บภาษีจะเก็บภาษีเกินเพดานอัตราภาษีที่อนุสัญญากำหนดไว้ไม่ได้ เช่น เงินได้ประเภทเงินปันผล เป็นต้น
3. การขจัดภาษีซ้อน
ในอนุสัญญาแต่ละฉบับอาจกำหนดวิธีขจัดภาษีซ้อนไว้ต่างกัน เช่น ถ้ากำหนดให้ขจัดภาษีซ้อนโดยวิธียกเว้น รัฐถิ่นที่อยู่ของผู้มีเงินได้จะยอมยกเว้นภาษีให้โดยไม่ต้องนำเงินได้ที่เสียไว้แล้วในรัฐแหล่งเงินได้มารวมคำนวณภาษีในรัฐถิ่นที่อยู่ซ้ำอีก หรือใช้วิธีเครดิตภาษี รัฐ ถิ่นที่อยู่ยังคงสิทธินำจำนวนเงินได้ที่เกิดขึ้นในรัฐแหล่งเงินได้มารวมคำนวณภาษีในรัฐถิ่นที่อยู่ แต่จะต้องยอมให้นำภาษีที่เสียไว้ในรัฐแหล่งเงินได้มาเครดิตภาษีหักออกจากภาษีในรัฐถิ่นที่อยู่ได้ด้วย
4. บททั่วไป
เป็นส่วนสุดท้ายที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติต่าง ๆ ที่ช่วยในการตีความและเป็นแนวปฏิบัติ เช่น บทบัญญัติว่าด้วยนิยามต่าง ๆ การไม่เลือกปฏิบัติ การเริ่มใช้และเลิกใช้อนุสัญญา เป็นต้น |