การหักลดหย่อน
1.กรณีบุคคลธรรมดา หรือผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
1.1 ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท
1.2 คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
1.3 ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ ไม่เกิน 120,000 บาท
1.4 บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
2.ค่าเบี้ยประกัน (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป)
2.1 ผู้มีเงินได้
หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2.2 คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
หักค่าลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
2.3 คู่สามี ภรรยาที่ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
ไม่ว่าจะแยกยื่น / ยื่นร่วม ได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย
2.4 ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
3.ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
3.1 สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
3.2 สามารถหักหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้ด้วย
ทั้งนี้ บิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท
4. ค่าอุปการะเลี้ยง ดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
หักค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท
5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างให้หักจากเงินได้
6. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ได้รับยกเว้นเท่าที่จ่ายอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
7. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ ต้องเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้น
8. ดอกเบี้ยกู้ยืม
ที่จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืม หักลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
9. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
10. เงินสมทบประกันสังคม
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง
11. เงินบริจาค
11.1 สนับสนุนการศึกษาและสาธารณประโยชน์ หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10
11.2 เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หักลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ร้อยละ 10
11.3 เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10
**เงินบริจาคหักลดหย่อนเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นแล้ว**
12. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต 10 ปีขึ้นไป และเงินฝากที่จ่ายไว้กับธนาคาร ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน
|