การที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
1.การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
2.การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
5.การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7.การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
► แบบ Demarest
1.การสร้างความรู้ (Knowledge Construction)
2.การเก็บรวบรวมความรู้ (Knowledge Embodiment)
3.การกระจายความรู้ไปใช้ (Knowledge Dissemination)
4.การนำความรู้ไปใช้ (Use)
► แบบ Turban และคณะ
1.การสร้าง (Create)
2.การจับและเก็บ (Capture and Store)
3.การเลือกหรือกรอง (Refine)
4.การกระจาย (Distribute)
5.การใช้ (Use)
6.การติดตาม/ตรวจสอบ (Monitor)
► แบบ Probst และคณะ
1.การกำหนดความรู้ (Knowledge Identification)
2.การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
3.การพัฒนาความรู้ใหม่ (Knowledge Development)
4.การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)
5.การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Storing)
6.การนำความรู้มาใช้ (Knowledge Utilization
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit มักเป็นแบบทางเดียว
2.เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit อาศัยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Communityof Practice : CoP)
► เครื่องมือ (Tools)
1.ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
2.การศึกษาดูงาน (Study tour)
3.การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
4.การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
5.เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling) 6.การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
7.เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
8.เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9.การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
10.มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking) 11.การสอนงาน (Coaching)
12.การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
13.ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
14.บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
15.เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)