[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
เมนูหลัก
ค้นหาจาก google
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรบริหารธุรกิจ
- การตลาด
- การจัดการ
-การบริหารทรัพยากรมนุษย์
และองค์การ
- การจัดการธุรกิจดิจิทัล
- การจัดการโลจิสติกส์
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
การบัญชี
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
นิเทศศาสตร์ดิจิทัล
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
การท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ
หลักสูตรปบัญญาโท
ปริญญาโท (MBA)
งานวิจัย
แผนคณะวิทยาการจัดการ
การจัดการความรู้ (KM)
LINK
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 4/มิ.ย./2561
ผู้ใช้งานขณะนี้ 3 IP
ขณะนี้
3 คน
สถิติวันนี้
56 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
85 คน
สถิติเดือนนี้
4552 คน
สถิติปีนี้
37199 คน
สถิติทั้งหมด
199667 คน
IP ของท่านคือ 34.229.131.158
(Show/hide IP)

  
ประวัติ  
 

             คณะวิทยาการจัดการ  ตั้งอยู่บริเวณอาคาร ๒๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  ตำบลทะเลชุบศร  อำเภอเมือง  จังหวัดลพบุรี  เดิมคือภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองที่สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๒๗ ให้มีการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูใหม่เมื่อเดือนตุลาคม  พ.ศ.๒๕๒๗ โดยให้เพิ่มคณะวิชาวิทยาการจัดการเพื่อให้การศึกษาในสาขาวิชาชีพอื่นนอกเหนือไปจากสาขาวิชาชีพครูที่เคยเป็นภารกิจหลักแต่เดิมของวิทยาลัยครู เมื่อได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ในวิทยาลัยครูแล้ว กรมการฝึกหัดครูได้เชิญวิทยาลัยครูทั้ง ๓๖ แห่งเข้าร่วมประชุมเพื่อซักถามถึงความพร้อมว่าในปีแรกวิทยาลัยครูใดมีความพร้อมที่จะเปิดสอนโปรแกรมวิชาอะไรและ ผศ.สมัย รื่นสุข ผู้แทนของวิทยาลัยครูเทพสตรีที่ทำหน้าที่แทน รศ.สุรพันธ์ ยันต์ทอง ซึ่งเป็นอธิการในเวลานั้น ท่านเลือกที่จะเปิดสอนโปรแกรมวิชาการจัดการสำนักงาน ระดับอนุปริญญา ๒ ปี ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองจึงแยกตัวออกมาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี ผศ.สมพร พวงเพ็ชร์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา และผู้บริหารของวิทยาลัยครู เทพสตรีได้มอบหมายให้ อาจารย์ปัญญา อนันตธนาชัย ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นพี่เลี้ยงและเป็นผู้จัดเตรียมบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ฯลฯ ไว้สำหรับการดำเนินการ  และเริ่มจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๒๘ เป็นปีแรก
ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้เสนอขอพระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยครูทั่วราชอาณาจักรในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ว่าสถาบันราชภัฏ (อันมีความหมายว่า คนของพระราชา หรือข้าราชการ) จนกระทั่ง ในวันที่  ๑๙  มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ พ.ศ.๒๕๓๘ และสำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๔ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันราชภัฏสามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีได้ ทำให้สถานภาพขององค์การเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ชื่อส่วนราชการ  โครงสร้างองค์การ  ตำแหน่งทางการบริหารและอื่น ๆ คณะวิชาวิทยาการจัดการเปลี่ยนเป็น “คณะวิทยาการจัดการ” หัวหน้าคณะวิชาเปลี่ยนเป็น “คณบดี” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สถาบันราชภัฏเทพสตรี  ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีสถานะเป็นนิติบุคคล ตามราชกิจจานุเบกษา  ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๒ก ๑๔
 
 การบริหารงานของคณะวิทยาการจัดการ  ระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๘ – ๒๕๔๑  บริหารงานในรูปแบบของภาควิชา  โดยมีภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้
         ๑. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
         ๒. ภาควิชาบริหารธุรกิจและการสหกรณ์
         ๓. ภาควิชาการตลาด
         ๔. ภาควิชาการเงินและการบัญชี
         ๕. ภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
พ.ศ.๒๕๓๙ โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้โอนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาสังกัดคณะวิทยาการจัดการอีก ๑ โปรแกรมวิชา จึงทำให้คณะวิทยาการจัดการประกอบด้วย ๕ ภาควิชากับอีก ๑ โปรแกรมวิชา
          การบริหารงานวิชาการของคณะ โดยมีส่วนราชการเป็นภาควิชามานานกว่า ๒๐ ปี ได้พบ ข้อจำกัดหลายประการ คณะกรรมการสภาสถาบันสถาบันราชภัฏ (คสส.) จึงมีมติเมื่อ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ระบุให้การบริหารภายในคณะต่าง ๆ ของสถาบันราชภัฏเป็นแบบโปรแกรมวิชา เพราะเห็นว่าแนวคิดนี้จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการบริหารงานวิชาการและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้อย่างเต็มศักยภาพ สถาบันราชภัฏเทพสตรีจึงได้นำเสนอต่อสภาสถาบัน ราชภัฏเทพสตรี และสภา ฯ ได้มีมติให้การประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๑ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑  เห็นชอบให้สถาบันราชภัฏเทพสตรี ดำเนินการบริหารงานคณะในรูปแบบโปรแกรมวิชาตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๑ เป็นต้นไป ซึ่งประกอบด้วย ๖ โปรแกรมวิชา ดังนี้
๑. โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ
๒. โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป
๓. โปรแกรมวิชาการบัญชีและการเงิน
๔. โปรแกรมวิชาการตลาด
๕. โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
๖. โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
          ต่อมาในปี ๒๕๔๘  สถาบันราชภัฏได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยและได้เปลี่ยนการบริหาร งานวิชาการจากโปรแกรมวิชาเป็นสาขาวิชาและในปี ๒๕๕๑ คณะวิทยาการจัดการได้ขออนุมัติสภามหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินโครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการการคลัง) ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการคลัง เป็นบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาในโครงการดังกล่าวที่เข้าเรียนในปีงบประมาณ  ๒๕๕๑ เป็นบุคลากรองค์กรปกครองท้องถิ่น  และตั้งแต่ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ คณะวิทยาการจัดการมี สาขาวิชารับผิดชอบจัดการเรียนการสอน ๑๐  สาขาวิชา ดังนี้ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชีและการเงิน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์  สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการ และสาขาวิชาการจัดการการคลัง และต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๕๔  คณะวิทยาการจัดการได้มีการปรับหลักสูตรใหม่ และมีการปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาที่ทำการเปิดสอนดังต่อไปนี้
           ๑. สาขาวิชาการจัดการ
  •  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  •  สาขาวิชาการตลาด
           ๔. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
           ๕. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
           ๖. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
           ๗. สาขาวิชาการบัญชี
           ๘. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการ (ระดับบัณฑิตศึกษา)
ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ งดรับนำศึกษาในสาขาวิชาการจัดการการคลัง และได้มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๒ หลักสูตร คือ
๑.  สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๕)
         ๒.  สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๕)
         ปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีการปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔) และงดรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔)
         ปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.๒๕๕๙ จำนวน ๘ หลักสูตร ได้แก่
         ๑. สาขาวิชาการจัดการ
         ๒. สาขาวิชาการตลาด
         ๓. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
         ๔. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
         ๕. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
         ๖. สาขาวิชาการบัญชี
         ๗. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
         ๘. สาขาวิชาการจัดการ (ระดับบัณฑิตศึกษา)
ปีการศึกษา 2559 มีการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2560 จำนวน ๒ หลักสูตร ได้แก่
๑. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
๒. สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
 
ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาการจัดการ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘  ถึงปัจจุบัน
๑. ผศ.สมพร               พวงเพ็ชร์         พ.ศ.๒๕๒๘  -  ๒๕๒๙
๒. ผศ.สมพร               พวงเพ็ชร์         พ.ศ.๒๕๓๐  -  ๒๕๓๓
๓. ผศ.พิชัย                 เพชรรักษ์         พ.ศ.๒๕๓๔ -  ๒๕๓๗
๔. ผศ.สมพร               พวงเพ็ชร์         พ.ศ.๒๕๓๘ -  ๒๕๔๑
๕. รศ.สมพร               พวงเพ็ชร์         พ.ศ.๒๕๔๒  -  ๒๕๔๖
๖. ผศ.ชวัชร์                ยิ้มพงษ์            พ.ศ.๒๕๔๖ -  ๒๕๔๗
๗. ผศ.ดร.สุธาสินี          ศิริโภคาภิรมย์    พ.ศ.๒๕๔๘  -  ๒๕๕๖
๘. ผศ.ธนิดา               ภู่แดง           ๙ มีนาคม ๒๕๕๗ – ๘ มีนาคม ๒๕๖๔
๙. ผศ.พรรณนิภา          เดชพล            ๙ มีนาคม ๒๕๖๔-ปัจจุบัน